ช่วงนี้จะเห็นคำว่า PDPA ตามเพจ หรือตามข่าวต่างๆ เนื่องจากประเทศได้มีกฏหมาย PDPA หรือ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งประกาศใช้เมื่อไม่นานมานี้ และยังมีหลายคนอาจจะสงสัยและเข้าใจผิดเกี่ยวกับPDPA ไปหลายอย่างทั้งการถ่ายรูปติดคนอื่น หรือแม้กระทั่งการติดตั้งกล้องวงจรปิด การถ่ายรูปผู้กระทำผิดกฏหมาย วันนี้ทางได้รวบรวมข้อมูลความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA มาให้อ่าน
ข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของ PDPA มีอะไรบ้าง?
ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป
- ชื่อ – นามสกุล
- วันเดือนปีเกิด สัญชาติ น้ำหนักส่วนสูง
- เบอร์โทรศัพท์ อีเมลล์ส่วนตัว ที่อยู่ปัจจุบัน
- เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขในอนุญาตขับขี่
- ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางการแพทย์
- ทะเบียนรถยนต์ โฉนดที่่ดิน ทะเบียนบ้าน
- ข้อมูลอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username / Password, Cookies , IP Address, GPS Location
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว
- เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
- ความคิดเห็นทางการเมือง
- ความเชื่อทางศาสนา
- พฤติกรรมทางเพศ
- ประวัติอาชญากรรม
- ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์
- ข้อมูลสหภาพแรงงาน
- ข้อมูลพันธุกรรม
- ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า ข้อมูลม่านตา
ข้อสงสัยที่ทุกคนต่างสงสัยกันเลยคือเวลาเราถ่ายรูปแล้วติดบุคคลอื่นนี้ผิด PDPA หรือไม่
ไม่ผิดเพราะกฏหมายฉบับนี้รองรับสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญเรามีสิทธิ์ตรวจสอบ เพราะมีข้อยกเว้นว่าประชาชนใช้สิทธิส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เพราะมาตาร 1 เว้นวรรค 4 ระบุชัดเจนว่า การเซลฟี่แล้วติดคนอื่นไม่ผิดกฏหมาย ตราบใดที่เราไม่เอาพภาพที่ติดคนอื่นนั้นไปแสวงหาผลกำไรและทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ถ้าเราติดตั้งกล้องวงจรปิดและกล้องหน้ารถยนต์ จำเป็นต้องติดป้ายบอกหรือไม่?
สำหรับกล้องหน้ารถยนต์ไม่จำเป็นต้องติดป้ายบอก รวมทั้งกล้องวงจรปิดที่ติดตามบ้านด้วย เพราะเป็นของส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่กล้องวงจรปิดในสถานที่สาธารณะ ส่วนนี้ต้องมีป้ายแจ้งเตือนเนื่องจากไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัว
ในส่วนของสื่อมวลชนที่เข้าไปทำข่าวถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ ส่วนนี้เป็นข้อยกเว้นเพราะสื่อมวลชน สามารถเข้าไปถ่ายภาพได้โดยไม่ผิด PDPA ตราบเท่าที่ไม่ขัดประมวลจริยธรรม แต่ถ้าเป็นสื่ออย่างเช่น Youtuber ไม่นับว่าเป็นสื่อเพราะถือเป็นบุคคลทั่วไปที่มีคนติดตามเยอะแต่ไม่มีประมวลจริยธรรมเลยเพราะขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นๆ
ประชาชนควรปรับตัวอย่างไรเมื่อกฏหมาย PDPA บังคับใช้
ถ้าเป็นประชาชนทั่วไปใช้ชีวิตตามปกติเหมือนเดิม ถ้าเราไม่ได้ถ่ายไม่ได้เก็บข้อมูลคนอื่นโดยแสวงหาผลกำไร และไม่ได้ทำให้คนอื่นเสียหาย แต่ถ้าเป็นส่วนขององค์กรหรือบริษัทต้องมีส่วนรับผิดชอบเพราะองค์กรหรือบริษัทมีข้อมูลของลูกจ้าง ข้อมูลลูค้า ส่วนนี้กฏหมายจะคุ้มครองของประชาชนมากขึ้น และถ้าเน็ตบ้านมีปัญหา แนะนำให้ใช้ เน็ต 3bb สุรินทร์ หรือจังหวัดใกล้เคียงก็สามารถติดต่อเราได้